เทคนิคการวาดภาพและการทำ ANIMATION ด้วยโปรแกรม ADOBE FLASH
โปรแกรม Adobe Flash เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างสรรค์งานกราฟิก ที่ช่วยในการปรับแต่ง แก้ไข หรือออกแบบภาพ โดยทำได้ง่ายด้วยเทคนิค “ตัด เชื่อม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง” โปรแกรม Adobe Flash มีการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash เบื้องต้น ได้แก่ เทคนิคการวาดภาพกราฟิกส์และการ์ตูนด้วยการตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง, การสร้าง Graphic Symbol, การใช้เครื่องมือต่างๆของโปรแกรม และการสร้าง Animation ในโปรแกรม Adobe Flash ได้แก่ ภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween (แบบเคลื่อนที่), Shape Tween (แบบเปลี่ยนรูปทรง) และ Frame by Frame (แบบเฟรมต่อเฟรม)
การใช้งานโปรแกรม Adobe Flash
- เข้าที่โปรแกรม Adobe Flash จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม
-
ภาพ หน้าต่างของโปรแกรม Adobe Flashเครื่องมือโปรแกรม มีดังนี้- แถบเครื่องมือหลัก (Main Toolbar) เป็นแถบเครื่องมือควบคุมการทำงานหลักของโปรแกรม- แถบเครื่องมือ (Toolbox) กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุของโปรแกรม Flash- Document Tab คือ ส่วนควบคุมเอกสาร- Timeline เป็นส่วนสำคัญของโปรแกรม Flash ที่ทำหน้าต่างควบคุมการนำเสนอผลงาน- Layer ส่วนควบคุมการสร้างชั้นงาน เพื่อให้ชิ้นงานแต่ละชิ้นมีอิสระ และสะดวกต่อการแก้ไข ปรับแต่ง- Stage & Workspace เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของหน้าต่างโปรแกรม มีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับเวทีการแสดง- Panel หน้าต่างเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แสดงคำสั่งควบคุมย่อยต่างๆ ของโปรแกรมการวาดภาพด้วยเทคนิคตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง
- ถ้าต้องการเปลี่ยนรูปทรงของภาพสามารถใช้เทคนิค Drag & Drop เพื่อทำให้รูปทรงต่างๆเป็นเป็นรูปทรงอิสระอื่นๆ ได้ตามต้องการ
- โดยเริ่มต้นจากการวาดรูปทรงพื้นฐานที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือ Rectangle Tool
- จากนั้นใช้เครื่องมือ Selection Tool แล้วนำเมาส์ไปชี้บริเวณเส้นขอบของรูปภาพ แล้วกดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ตามรูปทรงที่ต้องการ
- รูปจะบิดตัวตามทิศทางการลากเมาส์ ทำให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการ
- ถ้าต้องการให้เพิ่มความโค้ง สามารถทำได้โดยคลิกที่บริเวณเส้นขอบของรูปแล้วลากออกมา รูปจะหดตัวตามทิศทางการลากเมาส์ ทำให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการ
ภาพ รูปร่างที่ใช้เทคนิคตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง
ภาพ ตัวอย่างรูปการ์ตูนที่ใช้เทคนิคตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง
การสร้าง Graphic Symbol
- เริ่มต้นการสร้าง Graphics Symbol โดยเลือกคำสั่ง Insert > New Symbol…
- จะปรากฏหน้าต่าง จากนั้นตั้งชื่อ Symbol ในช่อง Name และเลือกประเภทของ Symbol ซึ่งมี 3 แบบดังนี้- Graphics Symbol (ภาพนิ่ง)- Button Symbol (ปุ่มสำหรับคลิกหรือกด)- Movie Clip Symbol (ภาพเคลื่อนไหว)จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK
- สร้าง Symbol ตามที่ต้องการจนครบทุกภาพ แล้วลาก Symbol ที่ต้องการทำภาพเคลื่อนไหวเข้ามาใน Stage
การสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation)
- ภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame เป็นการวาดวัตถุที่ละเฟรมเรียงต่อไปเรื่อยๆ โดยวัตถุที่นำมาสร้างจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้
ภาพ ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame
- ภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่กำหนดเฉพาะจุดต้นและจุดสุดท้าย
ภาพ ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween
- ภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween เป็นเทคนิคการแปลงภาพจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง
ภาพ ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween
การใช้งานโปรแกรม Adobe Flash จำเป็นต้องใช้ทักษะและความชำนาญ เพราะขั้นตอนและเครื่องมือต่างๆค่อนข้างมาก จึงต้องศึกษาการใช้งานโปรแกรมจากคู่มือหรือหนังสือประกอบการใช้งาน เพื่อให้สามารถใช้งานโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา::http://kannikabuuis.wordpress.com/2013/01/23/เทคนิคการวาดภาพและการท/
ที่มา::http://kannikabuuis.wordpress.com/2013/01/23/เทคนิคการวาดภาพและการท/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น